เสี่ยงภาวะซึมเศร้าไม่รู้ตัว ถ้าคุณยังไม่เลิกทำงานแบบนี้

  • 23 ก.พ. 2568
  • 44
หางาน,สมัครงาน,งาน,เสี่ยงภาวะซึมเศร้าไม่รู้ตัว ถ้าคุณยังไม่เลิกทำงานแบบนี้

 

คุณควรเลิก Multitasking แล้วหันมา Single-tasking! ลืมความคิดที่บอกว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน (Multitasking) ทำให้ได้งานมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานโดยโฟกัสงานไปทีละงานอย่างตั้งใจ (Single-tasking) ผลการวิจัยเปิดเผยแล้วว่าสมองของเราไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทำอะไรมากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน แม้ว่าจะรู้สึกเหมือนว่าคุณกำลังทำสองงานพร้อมกัน แต่สิ่งที่คุณทำอยู่จริง ๆ คือการสลับจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็สลับกลับมาทำงานเดิมอีกครั้ง หรือเรียกว่า task switching ซึ่งทุกครั้งคุณจะต้องสูญเสียพลังงานและเวลาจากการสลับงานไปมาเพื่อโฟกัสงานแต่ละงานใหม่อีกครั้งที่คุณสลับ — DR. SAHAR YOUSEF, นักประสาทวิทยาด้านความรู้ความเข้าใจ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ กล่าวว่า “Multitasking is a myth.” หมายถึง การทำหลายอย่างพร้อมกันนั้นเป็นเรื่องที่ไม่จริง

 

นอกจากนั้นการทำงานแบบ Multitasking หรือจริงๆ คือ task switching เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ทำให้คนทำงานเกิดภาวะหมดไฟ เพราะพฤติกรรมการทำงานแบบนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคุณด้วย จากการวิจัยพบว่าคนทำงานที่ใช้ความรู้ ความคิด และทักษะทางปัญญาในการทำงาน (knowledge workers) กว่า 71% ประสบภาวะหมดไฟ (Burnout) อย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2023 เพราะการทำงานแบบ Multitasking จะส่งผลกระทบให้เราได้ดังนี้

 

1. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

การทำงานหลายอย่างพร้อมกันมักทำให้เกิดการกระจายสมาธิ สมองของเราจะต้องใช้พลังงานในการสลับงานไปมา ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมในการทำงานนั้นลดลง งานที่ได้จึงอาจมีประสิทธิภาพต่ำกว่างานที่ทำโดยโฟกัสงานไปทีละงานอย่างตั้งใจ (Single-tasking) และหากประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลงก็อาจส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อีกด้วย

 

2. ความเครียดและวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น

การจัดการกับงานหลายอย่างพร้อมกันทำให้เกิดแรงกดดันในการทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา ความรู้สึกว่าต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุดในเวลาเดียวกันมักสร้างความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งทำให้เราเหนื่อยล้าสะสมไปเรื่อยๆ จนเกิดภาวะหมดไฟ (Burnout) ในที่สุด

 

3. สุขภาพจิตแย่ลง

การทำงานแบบ Multitasking อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้อย่างรุนแรง เมื่อเราพยายามทำหลายงานในเวลาเดียวกัน สมองอาจเกิดความสับสน ไม่มีสมาธิ ไม่มีควาสุขในงานที่ทำ และความเครียดที่สะสมจากการทำงานหลายอย่างพร้อมกันนี้อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ

 

4. ความเหนื่อยล้าทางสมองเพิ่มมากขึ้น

การสลับไปมาระหว่างงานหลายอย่างไม่เพียงแต่ทำให้สมาธิหายไป แต่ยังทำให้สมองต้องทำงานหนักขึ้น การทำงานแบบ Multitasking จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าได้เร็วขึ้น สมองที่เหนื่อยล้าสามารถส่งผลต่อความสามารถในการตัดสินใจและความจำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเราในระยะยาว

แม้ว่าการทำงานหลายอย่างพร้อมกันจะดูเหมือนเป็นวิธีที่ดี แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นอาจมีมากกว่าผลดี การมุ่งเน้นไปที่งานเดียวให้เสร็จอย่างมีประสิทธิภาพอาจเป็นวิธีที่ดีกว่าในการจัดการภาระงานและลดความเครียดในชีวิตประจำวัน การหาสมดุลในวิธีการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพและสุขภาพดีในระยะยาว

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ

จาก https://asana.com/resources/multitasking

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : hrbuddybyjobbkk@gmail.com

อัปเดตความรู้สำหรับคนหางาน คนทำงาน สามารถติดตามได้ที่ https://jobbkk.com/go/kr0ws

 

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top