3 ข้อผิดพลาดของการประกาศงาน ทำให้ไม่ได้คนสมัคร ต้องแก้ไขด่วน

  • 23 พ.ค. 2566
  • 3035
หางาน,สมัครงาน,งาน,3 ข้อผิดพลาดของการประกาศงาน ทำให้ไม่ได้คนสมัคร ต้องแก้ไขด่วน

 

3 ข้อผิดพลาด ที่ทำให้ประกาศงานไม่ได้คนสมัคร ซึ่งแท้จริงแล้วงานอาจมีความน่าสนใจ แต่คุณไม่ได้นำเสนอออกมา หรืออาจเป็นได้ว่า ประกาศงานที่ลงไว้ แทบไม่มีโอกาสเข้าถึงผู้สมัคร เพราะเขาไม่มีทางเจอประกาศของคุณได้เลย !!

 

มาหาวิธีแก้ไขไปพร้อมกับ HR Buddy กันค่ะ

1 การใช้คีย์เวิร์ดในการประกาศงาน : สำคัญที่สุดคือชื่อตำแหน่งงานที่ประกาศ บางครั้งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งรู้กันเฉพาะในบริษัทเท่านั้น หรืออาจใช้ชื่อที่ไม่บ่งบอกว่า ตำแหน่งนี้คืองานอะไร เช่น พนักงานประจำสาขา แต่ผู้สมัครไม่ได้ค้นหางานด้วยชื่อแบบนี้ค่ะ เช่นนี้จึงทำให้เขาไม่เจอประกาศงานของคุณ  

 

ดีที่สุดต้องเป็นชื่อทั่วไปที่ทุกคนรู้จักและบอกได้ทันทีว่าเป็นงานอะไร เช่น พนักงานการตลาดออนไลน์, พนักงานบัญชี หรือพนักงานขาย  และขอแนะนำว่าควรตามด้วยชื่อภาษาอังกฤษด้วย หรือใช้ชื่ออังกฤษแล้วตามด้วยชื่อไทยก็ได้ เพื่อให้ประกาศงานเข้าถึงทั้งผู้สมัครที่ค้นหางานด้วยชื่อภาษาไทยหรืออังกฤษ โอกาสได้คนที่ใช่ก็มากขึ้น

 

ปล. หรือหากต้องการใช้ชื่อเฉพาะ ก็ต้องวงเล็บชื่อทั่วไปด้วยนะคะ

 

2 ความถูกต้องและความน่าสนใจของคอนเทนต์ : ก่อนลงประกาศต้องตรวจสอบการสะกดคำให้ถูกต้องด้วยค่ะ เพราะหากใช้คำผิดหรือพิมพ์เกินพิมพ์ขาด ก็ทำให้ค้นหาไม่เจอเช่นกัน เช่น Superviser (ถูกต้อง = Supervisor), กราฟฟิค (ถูกต้อง = กราฟิก), ดิจิตอล (ถูกต้อง = ดิจิทัล) ทั้งนี้ ยังแสดงถึงความเป็นมืออาชีพของ HR ที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์องค์กรและส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของประกาศงานด้วยนะคะ

 

รวมถึงความถูกต้องชัดเจนของเงินเดือน, หน้าที่ความรับผิดชอบ, สถานที่ปฏิบัติงาน และคุณสมบัติผู้สมัคร ก็ต้องตรวจสอบเช่นกัน คุณจะได้คนที่ใช่และพร้อมทำงานมากแค่ไหน ข้อมูลทั้งหมดนี้จะคัดกรองให้คุณค่ะ

 

นอกจากนี้ ต้องลำดับข้อมูลให้คอนเทนต์ในประกาศมีความน่าสนใจด้วย เพราะประเด็นมีอยู่ว่า หลายคนไม่ชอบอ่านอะไรยาว บางคนอ่านไม่จบด้วยซ้ำ

 

ฉะนั้น ส่วนไหนที่จัดว่าเด็ดที่สุด ต้องนำมาระบุไว้แรก ๆ ให้เขาเห็นก่อนเลย อย่างสวัสดิการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายเช่น ค่าทันตกรรม, ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต, ค่าอาหาร, รถรับส่ง แต่ส่วนที่อาจไม่มีโอกาสได้ใช้บ่อย ให้ระบุในลำดับถัดมาค่ะ เช่น ทุนเรียนต่อต่างประเทศ, งานเลี้ยงสังสรรค์ ,ท่องเที่ยวประจำปี และสุดท้ายคือส่วนที่ธรรมดาที่สุด บริษัทไหนก็ต้องมี เอาไว้ท้ายสุดเลยค่ะ เช่น ประกันสังคม, เครื่องแบบพนักงาน (ปล. เห็นหลายประกาศมักระบุไว้ลำดับแรกเลย)

 

อย่างไรแล้ว ส่วนของสวัสดิการ ถ้ามีเยอะก็ระบุให้ครบเลยค่ะ ยิ่งเยอะ ยิ่งทำให้ประกาศน่าสนใจกว่าบริษัทอื่น แม้เขาจะอ่านไม่จบ แต่เพียงแค่นำเสนอส่วนที่น่าสนใจที่สุดมาให้เขาเห็นก่อน ก็ดึงดูดได้แล้วค่ะ

 

3 การมองในมุมผู้สมัครงาน : ทั้งหมดข้างต้นนี้ HR ต้องสมมติตัวเองว่าเป็นผู้สมัครด้วยค่ะ ตั้งแต่การเลือกใช้ชื่อตำแหน่ง ถ้าเราเป็นเขาที่กำลังหางานในสายงานนี้ เราจะเลือกค้นหาด้วยคำไหน แล้วข้อมูลในประกาศ มีส่วนไหนที่เราอยากเห็นมากที่สุด ส่วนไหนที่ยังไม่ชัดเจนแล้วอยากได้ข้อมูลมากขึ้น  และสุดท้าย เมื่ออ่านประกาศทั้งหมดแล้ว เราจะสมัครงานนี้ไหม ? ซึ่งหากเราเองยังรู้สึกไม่สนใจ ก็พอคาดการณ์ได้แล้วว่า โอกาสในการได้คนจะเป็นอย่างไร .....?

 

หลายคนถามว่ามีช่องทางใหม่ ๆ ที่ช่วยหาคนได้อีกไหม ?  แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็ตาม ที่ใคร ๆ ก็แนะนำว่าดี อาจไม่สามารถช่วยให้ได้คนเพิ่มเลย ถ้าประกาศงานของเราไม่ได้ทำให้ผู้สมัครรู้สึกสนใจ

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้เลยค่ะ https://www.facebook.com/hrbuddybyjobbkk

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาที่พบบ่อย – วิธีแก้ไข ในงานสรรหาบุคลากร >> https://jobbkk.com/go/UmcTN

HR จะหาคนได้อย่างไร ? เมื่อบริษัทให้เงินเดือนน้อยกว่าที่อื่น สวัสดิการก็ไม่ดึงดูด >> https://jobbkk.com/go/Dly3N

 

ขอบคุณข้อมูล :  อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน  ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center

Website : www.senmentor.com

Line : wisebrown

Tel : 081-820-9271

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3

อีเมล : crm@jobbkk.com

Line :  @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top