ทุกคนต่างมีเป้าหมายในชีวิต และการจะไปถึงเป้าหมายนั้นก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเอง แต่การที่จะเริ่มลงมือทำนี่แหละ ถือเป็นเรื่องยากที่สุด หลายคนมัวผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนเวลาล่วงเลยไปก็ยังไม่ได้เริ่มสักที ทำให้รู้สึกว่าเป้าหมายที่หวังไว้ มันไกลเหลือเกิน หรือเหมือนเป็นได้แค่ความฝันเท่านั้น
อีกหนึ่งบทความดีๆ ที่ JOBBKK.COM ได้รับเกียรติจาก คุณเกรท ปรมะ ตันเดชาวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ เจ้าของรางวัล “ราษฎร์บัณฑิต” สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติดีเด่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น CEO บริษัท ชูใจคอลเซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัท ซิมเปิลเซนส์ จำกัด รวมถึงเป็นที่ปรึกษาระดับสูง ด้านการวางแผนธุรกิจ,การสร้างภาพลักษณ์องค์กรและการตลาด โดยสมาคมที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง และเป็นอาจารย์พิเศษหลักสูตรปริญญาโท วิชาการสร้างผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย
โอกาสพิเศษครั้งนี้ คุณเกรทได้มาแชร์ข้อคิดให้ทุกคนได้ทบทวนตัวเองอีกครั้งว่า “เวลา” ที่ผ่านไป เราใช้ชีวิตอย่างสูญเปล่าหรือไม่ ? เพราะเหตุใด เราถึงไม่สามารถไปถึงเป้าหมายในชีวิตได้สักที ? ไปติดตามข้อคิดดีๆ กันเลยครับ
เวลาช่างผ่านไปรวดเร็ว...
เป็นคำที่ได้ยินมาจนคุ้นหู
เวลาผ่านไปเร็วหรือว่าช้า ผมว่าขึ้นอยู่กับ
เราทำอะไรไปมากแค่ไหนในแต่ละวัน เพราะแต่ละคนมีเวลาเท่ากัน คือ 24 ชม.
พิมพ์ไปพิมพ์มา ก็คุ้นเคยกันอีกนั้นแหละ กับประโยค
“เพราะแต่ละคนมีเวลาเท่ากัน คือ 24 ชม.”
ดังนั้น อะไรล่ะที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าเราบริหารเวลาหรือชีวิตของเราอย่างสูญเปล่าหรือไม่ ?
ตัววัดนั้นคือ “ผลลัพธ์ของสิ่งที่ทำไงครับ”
หากเรามองเรื่องของการทำงานช่วงเวลาสามเดือนแรก คือ ช่วงทดลองงาน...
เป็นช่วงเวลาที่ได้รับการวิจัยทางจิตวิทยามนุษย์ว่า
หากคนเราจะต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในระยะยาว
ช่วงเวลา 90 วัน จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
เช่น หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัยขี้เกียจอ่านหนังสือ...
ให้คุณบังคับตัวเองให้อ่านหนังสือ วันละเล็กน้อย
แต่ให้มีความต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน...
หลังจากระยะเวลา 90 วัน คุณจะสามารถอ่านหนังสือได้เองโดยไม่ต้องถูกบังคับ
และจะมีนิสัยที่รักการอ่านไปโดยอัตโนมัติ
และช่วงการทำงาน เมื่อครบเวลาหนึ่งปี
จะเป็นช่วงของการประเมินผลงาน เพื่อพิจารณาโบนัส
คนทำงานทุกคนย่อมต้องอยากได้รางวัลชีวิตที่ตนทุ่มเททำงานมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปี...
ซึ่งทางบริษัทก็จะมีนโยบายแตกต่างกัน ในการให้โบนัสประจำปี
ขึ้นอยู่กับ... นโยบายการจ่าย ยอดขายหรือกำไรของบริษัท
และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ ประสิทธิภาพการทำงานของเรา
ซึ่งข้อสุดท้ายนี้คือ ผลลัพธ์ ในการทำงานของเรานั่นเอง
และขึ้นอยู่กับว่า ตัวเรานั้นสามารถผลิตผลงานได้มากหรือน้อย
และเข้าตาเจ้านายได้มากน้อยแค่ไหน
ผมจะมีวิธีการประเมินตัวเองแต่ละปีอย่างละเอียด
ไม่เพียงแต่เรื่องงาน แต่ยังรวมถึงเรื่องการใช้ชีวิตอีกด้วย
พร้อมกับตั้งคำถามว่า ปีที่ผ่านมาเราทำอะไรไปบ้าง...
สิ่งที่ทำดีแค่ไหน และประสบผลสำเร็จขนาดไหน...
สิ่งที่ทำมีคนรอบข้างได้ผลประโยชน์
หรือเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นได้มากน้อยแค่ไหน...
เพราะหากผลลัพธ์จากการประเมินตัวเราออกมาน้อยเหลือเกิน...
เราคงต้องปรับรูปแบบระบบความคิดหรือการใช้ชีวิตใหม่
ตัวอย่างเช่น... หากเรามีแพลนที่อยากออกกำลังกาย
เพราะเป้าหมายคือ อยากมีสุขภาพหรือร่างกายที่ดูสมส่วนแข็งแรง...
หากเรามัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่ง โดยมีเหตุผลมากมาย อ้างว่าต้องทำงานเยอะมาก...
กว่าจะเลิกงานก็เป็นเวลาดึกดื่น... ไม่มีเวลา...
คุณเองก็อย่าหวังว่าจะมีร่างกายแข็งแรง...
คุณจะได้แต่คิดว่า “ดูคนนี้สิ...ร่างกายและสุขภาพดูแข็งแรงจังเลย”
“คนนั้นหุ่นดีจังเลย...ดูตัวเราสิอ้วนลงพุงเชียว”
เราน่าจะออกกำลังกายบ้างนะ จะได้ดูดีเหมือนคนนั้นบ้าง...
หรือบางท่านมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความรู้เพิ่มเติม
เช่น ต้องการพัฒนาความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ...
หากคุณมัวแต่หาเหตุผล...ไม่ยอมลงมือทำซะที...
ผ่านไปอีกกี่ปีคุณก็ยังคงเป็นคนเดิมที่ยังไม่พัฒนา...
จากในอดีตเมื่อยามที่คุณมองตัวเองย้อนกลับไป
นอกจากรอคอยโบนัสประจำปีของการทำงาน ว่าจะได้จำนวนกี่เดือน เป็นเงินเท่าไร
Credit : คุณเกรท ปรมะ ตันเดชาวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ
เจ้าของรางวัล “ราษฎร์บัณฑิต” (คนดี คนเก่ง ประเทศไทย) สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติดีเด่น
FB : Prma Tandechawat
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด